บทความ

ข้อกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา

รูปภาพ
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 64 บัญญัติให้นักเรียนและนักศึกษาต้องประพฤติตนตามระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษาและตามที่กำหนดในกฎกระทรวง  เมื่อปี พ.ศ. 2548  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา ไว้ 9 ข้อ และต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยปรับปรุงกำหนดพฤติการณ์ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยนักเรียนและนักศึกษาจะต้องไม่ประพฤติตนดังนี้ 1. หนีเรียน หรือออกนอกสถานศึกษาโดยไม่ได้รับอนุญาตในช่วงเวลาเรียน 2. เล่นการพนัน จัดให้มีการเล่นการพนัน หรือมั่วสุมในวงการพนัน 3. พกพาอาวุธหรือวัตถุระเบิด 4. ผลิต ซื้อ ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ ส่งมอบ ให้บริการ เสพ บริโภค สูบ ครอบครอง หรือกระทำการอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ซึ่งสุรา เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สิ่งมึนเมา บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า น้ำยาสำหรับเติมบุหรี่ไฟฟ้า บารากู่ ตัวยาบารากู่ บารากู่ไฟฟ้า น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้า หรือยาเสพติดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด     (กฎกระทรวงฉบับแรก กำหนดไว้เพียง ซื้อ จำหน่าย แลกเปลี่ยน เสพ สุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สิ่งมึนเมา บุหรี่ หรือยาเสพติด ...

แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ (กรณีสถานการณ์แผ่นดินไหว)

รูปภาพ
แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ (กรณีสถานการณ์แผ่นดินไหว)  ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1012.2/ว 15 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2568  

คู่มือการบังคับคดี

รูปภาพ
คู่มือการดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดี จัดพิมพ์โดย สถาบันนิติวัชร์ และสำนักงานการบังคับคดี สำนักงานอัยการสูงสุด

คู่มือกรณีตัวอย่างความผิดทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

รูปภาพ
คู่มือกรณีตัวอย่างความผิดทางวินัย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.)

คู่มือการดำเนินการทางวินัย อุทธรณ์และร้องทุกข์ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

รูปภาพ
คู่มือการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  ✅ (ฉบับเต็ม) ✅ (ฉบับย่อ) (สำนักงาน ก.ค.ศ.)

คนต่างด้าวทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินได้ ไม่ใช่นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย (ฎ.2744/2562)

ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 บัญญัติว่า "คนต่างด้าวจะได้มาซึ่งที่ดินก็โดยอาศัยบทสนธิสัญญาซึ่งบัญญัติให้มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ได้ และอยู่ในบังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ด้วย ภายใต้บังคับมาตรา 84 คนต่างด้าวดังกล่าวจะได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย... ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวง และต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี" และมาตรา 94 บัญญัติว่า "บรรดาที่ดินที่คนต่างด้าวได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ได้รับอนุญาต ให้คนต่างด้าวนั้นจัดจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ ซึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปี ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนด ให้อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น และให้นำบทบัญญัติเรื่องการบังคับจำหน่ายที่ดินตามความในหมวด 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม"  แม้โจทก์ร่วมเป็นคนต่างด้าว แต่ บทบัญญัติมาตรา 86 แห่ง ประมวลกฎหมาย ที่ดิน มิได้ห้ามเด็ดขาดกรณีคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยคนต่างด้าวอาจขออนุญาตต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ และแม้จะไม่ได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน คนต่างด้าวก็ยังม...

พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และกฎที่เกี่ยวข้อง

รูปภาพ
✅พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ✅ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 ✅ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ฯ ที่เกี่ยวข้อง ✅พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 ✅พ.ร.บ.กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2565 ✅และกฎที่เกี่ยวข้อง

พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และกฎที่เกี่ยวข้อง

รูปภาพ
✅พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ✅พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ✅พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ✅และกฎที่เกี่ยวข้อง

พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และกฎที่เกี่ยวข้อง

รูปภาพ
✅พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ✅ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติ เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ✅และกฎที่เกี่ยวข้อง

พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และกฎที่เกี่ยวข้อง

รูปภาพ
✅พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ✅ ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 ✅พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ✅และกฎที่เกี่ยวข้อง

สัญญาเป็นโมฆะ แม้เช็คเด้งก็ไม่เป็นความผิด (ฎ.2894/2522)

จำเลยออกเช็คชำระหนี้โจทก์ ตามสัญญาซื้อขายบ้านที่จำเลยเป็นผู้ซื้อ  เช็คถึงกำหนดแล้ว โจทก์เบิกเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เนื่องจากเงินในบัญชีไม่พอจ่าย  เมื่อปรากฏว่าการซื้อขายบ้านอันเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้น ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรก   เ ช็คพิพาทเป็นเช็คชำระหนี้ตามสัญญาที่เป็นโมฆะ จึงไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้  ดังนี้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 (ขณะนั้น) มาตรา 3 ที่มา ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา

ผู้รับประกันภัยไม่นำสืบปฏิเสธความคุ้มครอง (ฎ.3312/2564)

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 861 สัญญาประกันภัย เป็นนิติกรรมสองฝ่าย ที่คู่สัญญามีคำเสนอคำสนองต้องตรงกัน ที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น และคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตกลงจะชำระเบี้ยประกันภัยด้วย  กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบของสัญญาไว้   ส่วนตารางกรมธรรม์ประกันภัยเป็นเพียงหลักฐานการรับประกันที่ผู้รับประกันภัยออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย เพื่อแสดงว่าตนได้เข้ารับประกันความเสี่ยงภัยนั้นไว้แล้ว หาใช่เป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวไม่  เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่าจำเลยที่ 1 ยื่นคำขอเอาประกันภัยทรัพย์ที่จำนองในนามของโจทก์ตามใบคำขอเอาประกันภัย ซึ่งในข้อ 12 ระบุความคุ้มครองภัยเพิ่มพิเศษรวมถึงลมพายุไว้ด้วย และต่อมาจำเลยที่ 2 ออกกรมธรรม์ประกันภัยโดยเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ได้ให้คำจำกัดความคำว่า กรมธรรม์ประกันภัย หมายความรวมถึง ใบคำขอเอาประกันด้วย  ดังนั้น ใบคำขอเอาประกันภัย จึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกรมธรรม์ประกันภัย  นอกจากนี้ยังปรากฏข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยว่า ทำสัญญาประกันภัยวันที่ 3 พฤษภาคม 2555 ซึ่งวันดังกล่าวเป็นวันที่ผู้มีอำนาจของจำเล...

สัญญากำหนดให้ผู้บริโภคระงับข้อพิพาททางอนุญาโตตุลาการอย่างเดียว ใช้บังคับไม่ได้ (ฎ.4184/2565)

พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ออกใช้บังคับแก่คดีผู้บริโภค ภายใต้หลักการให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็วและเป็นธรรม เป็นบทกฎหมายที่กำหนดวิธีการระงับข้อพิพาทในคดีผู้บริโภคไว้โดยเฉพาะ เพื่อให้ความคุ้มครองผู้บริโภคตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ  ส่วนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการทางอนุญาโตตุลาการ แม้จะเป็นวิธีการที่คู่สัญญาอาจเลือกใช้ในการระงับข้อพิพาทและมีผลใช้บังคับกันได้ตามข้อตกลงของคู่สัญญา ตามหลักเสรีภาพของการแสดงเจตนา แต่ก็ต้องเป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจของผู้บริโภคอย่างแท้จริง ผู้บริโภคต้องมีโอกาสต่อรองหรือตระหนักดีว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ  ซึ่งกล่าวเฉพาะคดีนี้ต้องบังคับตามข้อบังคับ สำนักงานศาลยุติธรรมว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ สถาบันอนุญาโตตุลาการ ซึ่งมีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติแตกต่างจากบทบัญญัติของ พระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 หลายประการ ซึ่งโดยรวมแล้วอาจเป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้บริโภคที่พึงมี แต่ขณะเดียวกันก็เป็นการลดทอนสิทธิที่ผู้บริโภคพึงได้รับตามบทบัญญัติ พระราชบัญญัติ วิธีพิจารณ...

เจตนาแบ่งซื้อพัสดุ (ฎ.1662/2562)

จำเลยแบ่งการจัดซื้อยา โดยลดวงเงินแต่ละครั้งให้เหลือครั้งหนึ่งไม่เกิน 100,000 บาท เพื่อให้อยู่ในอำนาจของจำเลยที่จะจัดซื้อได้โดยวิธีตกลงราคา  จึงเป็นวิธีการเพื่อให้แบ่งซื้อสำเร็จ สามารถใช้เงินงบประมาณปลายปีได้หมดตามเจตนาของจำเลย หลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ข้อ 22 วรรคสอง  อันเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157  แม้จำเลยจัดซื้อยาในปีงบประมาณ 2540 รวม 10 ครั้ง และในปีงบประมาณ 2541 รวม 12 ครั้ง ถือว่าจำเลยมีเจตนาเดียวที่จะใช้เงินงบประมาณให้หมดในแต่ละปีงบประมาณ ย่อมเป็นการกระทำกรรมเดียวในแต่ละปีงบประมาณ จึงเป็นความผิด 2 กระทง หาใช่เป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนครั้งที่จัดซื้อรวม 22 กระทง ไม่ ที่มา ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา

เจ้าพนักงานบังคับคดีประมาทเลินเล่อไม่ได้ส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่ผู้รับจำนองทราบก่อนการขายทอดตลาด (ฎ.3853/2566)

เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ส่งประกาศขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาท ให้แก่ธนาคาร อ. ผู้รับจำนองทราบก่อนการขายทอดตลาด เป็นเหตุให้ศาลจังหวัดธัญบุรีมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด ด้วยเหตุดังกล่าว เป็นการบกพร่องต่อหน้าที่ในเรื่องสำคัญ และเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องมีความระมัดระวังในเรื่องนี้ เพราะเป็นหน้าที่ของตนตามกฎหมาย แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทำไปโดยปราศจากความระมัดระวัง ย่อมเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์  ความรับผิดทางละเมิดในกรณีเช่นนี้ จึงตกอยู่แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  มาตรา 285 วรรคหนึ่ง  อย่างไรก็ตาม เรื่องความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่เป็นกรณีที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 เนื่องจากมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ บัญญัติว่า "บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับใด ๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัติ...

ค่าขาดแรงงานในครัวเรือน (ฎ.5160/2566)

ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445 บัญญัติว่า "ในกรณีทำให้เขาถึงตาย... ถ้าผู้ต้องเสียหายมีความผูกพันตามกฎหมายจะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่บุคคลภายนอกในครัวเรือน หรืออุตสาหกรรมของบุคคลภายนอกนั้นไซร้ ท่านว่าบุคคลผู้จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อที่เขาต้องขาดแรงงานอันนั้นไปด้วย"  การจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดแรงงานของบุคคลภายนอกตามบทบัญญัติดังกล่าวนี้ จึงต้องเป็นกรณีที่ก่อนเกิดเหตุผู้ถูกทำละเมิด มีหน้าที่ไม่ว่าโดยสัญญาหรือโดยกฎหมายต้องทำการงานให้แก่บุคคลอื่น หากไม่มีหน้าที่หรือความผูกพันตามกฎหมายหรือตามสัญญาแล้ว บุคคลภายนอกย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้   ขณะผู้ตายถึงแก่ความตาย ผู้ตายบรรลุนิติภาวะแล้ว โจทก์ที่ 1 ในฐานะมารดาของผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 1567 (3) ที่จะให้ผู้ตายซึ่งเป็นบุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป โจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจเรียกร้องค่าขาดแรงงานได้  และเมื่อผู้ตายกับโจทก์ที่ 2 ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้ตายกับโจทก์ที่ 2 จึ...

กู้เงินโดยไม่แจ้งว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์ (ฎ.1505/2567)

พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 บัญญัติว่า "ในระหว่างเวลาตั้งแต่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จนถึงเวลาที่พ้นจากล้มละลาย ลูกหนี้คนใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือจำคุกไม่เกินสองปี หรือทั้งปรับทั้งจำ (1) รับสินเชื่อจากผู้อื่นมีจำนวนตั้งแต่สองพันบาทขึ้นไป โดยมิได้แจ้งให้ผู้นั้นทราบว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือล้มละลาย"  โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 3.1 ว่า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2560 ธนาคาร อ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลาย เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2561 ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลย จำเลยทราบวันนัดฟังคำสั่งโดยชอบ แต่ไม่ไปฟังคำสั่งศาล จำเลยกลับยื่นขอกู้เงินโจทก์จำนวน 3,165,000 บาท โดยจำเลยตั้งใจจะทุจริตฉ้อโกงโจทก์ โดยปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้ทราบว่า จำเลยถูกฟ้องล้มละลายและศาลนัดฟังคำสั่งและศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดจำเลยแล้วในวันที่ 26 เมษายน 2561 ซึ่งโจทก์ได้ตรวจสอบสถานะของจำเลยแล้วไม่พบว่าเป็นบุคคลล้มละลายและเข้าเงื่อนไขการกู้ โจทก์จึงอนุมัติเงินกู้และโอนเงินกู้ให้จำเลยเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 ... จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์...

ใช้เอกสารปลอมจากการกระทำผิดตามประมวลรัษฎากร เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน (ฎ.1581/2567)

แม้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 บัญญัติให้ผู้ใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา 265 และเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้น รับโทษตามมาตรานี้เพียงกระทงเดียว  แต่การใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86/13, 90/4 (3) ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษต่างหากจาก ประมวลกฎหมายอาญา  ไม่เข้าข้อยกเว้นให้รับโทษฐานใช้เอกสารปลอมกระทงเดียวตาม ประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา 268 วรรคสอง   การกระทำของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตาม ประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา 91 หาใช่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ แต่เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ลงโทษเป็นหลายกรรมได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195, 212 ประกอบมาตรา 225 ที่มา  ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา  

นักโทษลักลอบนำโทรศัพท์เข้าเรือนจำ (ฎ.7639/2562)

การที่จำเลยซึ่งเป็นนักโทษได้นัดหมายให้บุคคลภายนอกที่เข้ามาเยี่ยมนักโทษ ให้นำเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์มาส่งมอบแก่จำเลยในเรือนจำ เมื่อจำเลยได้รับโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์แล้วก็ลักลอบนำเข้าแดนตนเองจนถูกจับกุมดำเนินคดีนั้น  เมื่อ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 มาตรา 45 (เดิม) ที่ใช้อยู่ในขณะจำเลยกระทำความผิด มิได้บัญญัติให้การครอบครองหรือการเก็บรักษาไว้ซึ่งสิ่งของต้องห้ามในเรือนจำเป็นความผิด การที่จำเลยครอบครองและเก็บรักษาไว้ซึ่งสิ่งของต้องห้าม คือโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์ของกลางที่บุคคลภายนอกนำมาส่งให้ การกระทำของจำเลยเป็นเพียงการผิดระเบียบของเรือนจำ และเป็นเรื่องที่จำเลยอาจต้องรับผิดทางวินัยของผู้ต้องขัง แต่ยังถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว  ส่วนการที่บุคคลภายนอกลักลอบนำโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์อันเป็นสิ่งของต้องห้ามเข้ามาให้จำเลยในเรือนจำ การกระทำของบุคคลภายนอกย่อมเป็นความผิดฐานนำสิ่งของต้องห้ามเข้ามาในเรือนจำ   แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับบุคคลภายนอกเป็นพวกเดียวกันมาก่อน จำเลยเพิ่งรู้จักเมื่อบุคคลภายนอกมาเยี่ยมผู้ต้องขัง และไม่ได...

เทศบาลปฏิบัติหน้าที่ทั่วไปในการจัดหาประโยชน์จากตลาดสด ไม่ใช่การใช้อำนาจทางปกครอง (คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 42/2567)

แม้เทศบาลตําบล ร. จําเลยที่ 1 จะมีฐานะเป็นราชการส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา 70 (2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542 โดยมีหน้าที่ตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง (3) และมาตรา 51 (3) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496  แต่เมื่อ พิจารณาการกระทําที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า การที่ จําเลยที่ 2 เป็นผู้ชนะการประมูลห้องสุขา แจ้งให้โจทก์รื้อถอนแผงลอยและจะถือเอาพื้นที่ที่โจทก์ได้รับสิทธิมาโดยชอบมาเป็นของตน และการที่ จําเลยที่ 1 มีคําสั่งให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ขนย้ายทรัพย์สิน และบริวารออกจากบริเวณหน้าอาคารห้องน้ำตลาดสดของจําเลยที่ 1 เพื่อจะนําพื้นที่ของโจทก์ไปเอื้อประโยชน์ให้แก่จําเลยที่ 2 เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ ขอให้ศาลมีคําพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิ ใช้พื้นที่แผงลอยซึ่งตั้งอยู่บริเวณหน้าห้องสุขาตลาดสดเทศบาลตําบล ร. ดีกว่าจําเลยที่ 2 โดยให้จําเลยที่ 1 ยุติหรือเพิกถอนคําสั่งให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากพื้นที่ของโจทก์  จะเห็น...