การมีผลย้อนหลังของกฎหมาย

          โดยหลักทั่วไปกฎหมายจะไม่มีผลย้อนหลัง แต่มีข้อยกเว้นให้สามารถย้อนหลังได้ถ้าเป็นไปเพื่อความมั่นคงหรือความสงบเรียบร้อยของรัฐ

          แต่ในกฎหมายอาญา ถือเป็นหลักสากลที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลังเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด ซึ่งกฎหมายไทยมีบทบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 บัญญัติว่า "บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย..."
          ในทางกลับกันหากกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเป็นคุณกว่ากฎหมายขณะกระทำความผิด ก็สามารถย้อนหลังใช้บังคับให้เป็นคุณกับผู้กระทำผิดได้ เพราะถือว่าในขณะประกาศใช้กฎหมายใหม่ ความร้ายแรงของการกระทำนั้นได้ลดลงแล้ว ไม่มีประโยชน์ที่จะลงโทษหนักเหมือนเดิม*

          ส่วนกฎหมายปกครองนั้น ศาลปกครองสูงสุดได้นำหลักความไม่มีผลย้อนหลังของนิติกรรมทางปกครองมาใช้ด้วย โดยวินิจฉัยว่า "การบังคับใช้กฎหมายนั้น รัฐจะกระทำการได้ก็ต่อเมื่อได้ประกาศให้บุคคลรับทราบถึงเนื้อหาของกฎหมาย เพื่อที่ผู้อยู่ในบังคับจะได้ควบคุมการกระทำของตนเองให้สอดคล้องกับกฎหมายเช่นว่านั้น และรัฐไม่อาจใช้อำนาจเพิ่มเติมให้เป็นผลร้ายแก่บุคคลเกินกว่าผลทางกฎหมายที่มีอยู่ในขณะกระทำการได้"**


#นักเรียนกฎหมาย


อ้างอิง
*  ทวีเกียรติ  มีนะกนิษฐ. คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 13), กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2554 หน้า 18
**  จิดาภา มุสิกธนเสฏฐ์. "กฎ"...ไม่มีผลย้อนหลังให้เป็นผลร้ายแก่บุคคล, 



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

กฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ. 2566