การปฏิบัติตัว บนรถเมล์

          การขึ้นรถเมล์หรือรถประจำทาง ก็ต้องอยู่ในความสงบเรียบร้อย...ด้วยนะครับ เรื่องนี้ไม่ใช่แค่มารยาทในการเข้าสังคม หรือการมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่นั่งให้แก่กันเท่านั้นนะครับ ยังมีกฎ ระเบียบของหน่วยงานภาครัฐที่บังคับในเรื่องความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยให้ผู้โดยสารต้องปฏิบัติตนตลอดเวลาที่อยู่ระหว่างการโดยสารรถประจำทาง

          ในอดีตกระทรวงคมนาคมได้ออก กฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2529) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 เพื่อกำหนดข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย โดยกำหนดให้ผู้โดยสารปฏิบัติตลอดเวลาที่อยู่ในระหว่างการโดยสาร ดังนี้
          1. ไม่สูบบุหรี่หรือสิ่งที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เว้นแต่ในบริเวณที่จัดไว้ให้โดยเฉพาะ
          2. ไม่กล่าววาจาไม่สุภาพ เสียดสี ดูหมิ่น ก้าวร้าว ส่งเสียงอื้ออึง หรือกระทำการใดๆ ในลักษณะที่ก่อความรำคาญแก่ผู้อื่น
          3. ไม่โดยสารนอกตัวรถหรือห้อยโหน หรือยื่นมือ แขน หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายออกนอกตัวรถ ทั้งนี้ เมื่อผู้ประจำรถได้ว่ากล่าวตักเตือนแล้วไม่ยอมปฏิบัติตาม
          4. ไม่นำสิ่งของที่มีกลิ่นแรงอันอาจก่อความรำคาญแก่ผู้อื่น ขึ้นบนรถ เว้นแต่จะได้จัดเก็บให้มิดชิดโดยปราศการกลิ่นนั้น
          5. ไม่นำดอกไม้เพลิง ลูกระเบิด วัตถุระเบิด หรือวัตถุกัดกร่อน ขึ้นบนรถ
          6. ไม่บ้วน หรือถ่ม น้ำลาย น้ำหมาก หรือเสมหะ สั่งน้ำมูก ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ หรือเท หรือทิ้งสิ่งใดๆ ลงบนรถ ณ ที่ซึ่งมิได้จัดไว้เพื่อการนั้น
          7. ไม่ลงจากรถนอกบริเวณที่มีเครื่องหมายหยุดรถประจำทางตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก






          ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 ได้มีการยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2529) ดังกล่าว และออกกฎฉบับใหม่ขึ้น ชื่อว่า กฎกระทรวงกำหนดความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยที่ผู้โดยสารต้องปฏิบัติในระหว่างการโดยสาร พ.ศ. 2557 โดยกำหนดข้อปฏิบัติตลอดเวลาที่อยู่ในระหว่างการโดยสาร ทั้งหมด 10 ข้อ ดังนี้
          1. ไม่สูบบุหรี่หรือสิ่งที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน (ตามกฎกระทรวงฉบับใหม่นี้ จะเห็นได้ว่า เป็นการกำหนดห้ามสูบบุหรี่โดยสิ้นเชิง ไม่มีข้อยกเว้นเหมือนกับกฎกระทรวงฉบับเดิม)
          2. ไม่กล่าววาจาไม่สุภาพ เสียดสี ดูหมิ่น ก้าวร้าว ส่งเสียงอื้ออึง หรือกระทำการใดๆ ในลักษณะที่ก่อความรำคาญแก่ผู้อื่น
          3. ไม่โดยสารนอกตัวรถ หรือห้อยโหน หรือยื่นมือ แขน หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายออกนอกตัวรถ ทั้งนี้ เมื่อผู้ประจำรถได้ว่ากล่าวตักเตือนแล้วไม่ยอมปฏิบัติตาม
          4. ไม่นำสิ่งของที่มีกลิ่นแรงอันอาจก่อความรำคาญแก่ผู้อื่น ขึ้นบนรถ เว้นแต่จะได้จัดเก็บให้มิดชิดโดยปราศการกลิ่นนั้น
          5. ไม่นำดอกไม้เพลิง ลูกระเบิด วัตถุระเบิด หรือวัตถุกัดกร่อน ขึ้นบนรถ
          6. ไม่บ้วน หรือถ่มน้ำลาย น้ำหมาก หรือเสมหะ สั่งน้ำมูก ถ่ายสิ่งปฏิกูล หรือเท หรือทิ้งสิ่งใดๆ ลงบนรถ ณ ที่ซึ่งมิได้จัดไว้เพื่อการนั้น (ในข้อ 6 นี้ กำหนดห้ามถ่ายสิ่งปฏิกูล แทนคำว่า ห้ามถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะตามกฎกระทรวงฉบับเดิม)
          7. ไม่ลงจากรถนอกบริเวณที่มีเครื่องหมายหยุดรถประจำทางตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
          จากข้อกำหนดในข้อ 2-7 เป็นการกำหนดข้อปฏิบัติเหมือนกับข้อกำหนดในกฎกระทรวงฉบับเดิม แต่ในกฎกระทรวงฉบับใหม่นี้ ได้เพิ่มข้อกำหนดขึ้นอีก 3 ข้อ (ข้อ 8-10) คือ
          8. ไม่ดื่มสะราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
          9. ไม่กระทำการลามกอนาจาร
          10. รัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง
          นอกจากนี้ ในการขนส่งไม่ประจำทาง ผู้โดยสารก็ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในข้อ 1, 3, 5, 8, 9, 10 ด้วยนะครับ





 

         จะขึ้นรถเมล์ รถประจำทางหรือรถไม่ประจำทางทั้งที ก็ต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบที่เจ้าหน้าที่กำหนดไว้ด้วยนะครับ เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง เพื่อความสงบเรียบร้อย และเป็นมารยาทที่ดีในการอยู่ร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นการเคารพสิทธิ และไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นอีกด้วย สังคมไทยจะได้น่าอยู่ครับ ...ถ้าชอบช่วยกดแชร์ด้วยนะครับ^^

นายณวรัตม์  ศิรพิพัฒน์
26 กุมภาพันธ์ 2561



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

กฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ. 2566

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)