ประเภทและอำนาจคุมขังของเรือนจำ

          เรือนจำ คือ ที่สำหรับควบคุม ขัง หรือจำคุกผู้ต้องขัง ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ นักโทษเด็ดขาดที่ถูกหมายจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด รวมถึงผู้ที่ถูกขังตามกฎหมาย คนต้องขังตามหมายขัง และ คนฝาก คือผู้ที่ถูกฝากให้ควบคุม ซึ่งตามกฎหมายจำแนกเรือนจำออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้


ภาพจาก Facebook เรือนจำกลางคลองเปรม

          1. เรือนจำกลาง โดยปกติรับคุมขังผู้ต้องขังที่มีคำพิพากษาแล้ว และนักโทษเด็ดขาด เช่น เรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำกลางเชียงใหม่ เรือนจำกลางพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น
          2. เรือนจำส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย เรือนจำจังหวัด และเรือนจำอำเภอ ปกติรับคุมขังผู้ต้องขังที่เป็นคนฝาก ผู้ต้องขังระหว่างคดีและนักโทษเด็ดขาด เช่น เรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรือนจำอำเภอสีคิ้ว เป็นต้น
          3. เรือนจำพิเศษหรือทัณฑสถาน ปกติรับคุมขังผู้ต้องขังเฉพาะแต่ละประเภท เช่น หญิง คนวัยหนุ่ม เด็ก คนชรา หรือพิการทุพพลภาพ คนป่วย หรือผู้ต้องขังประเภทเดียวกับเรือนจำส่วนภูมิภาคซึ่งในพื้นที่นั้นไม่มีเรือนจำส่วนภูมิภาคตั้งอยู่ เช่น เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เรือนจำพิเศษนครสวรรค์ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษสงขลา เป็นต้น
          4. เรือนจำชั่วคราว ปกติจัดตั้งขึ้นและรับคุมขังผู้ต้องขังเฉพาะกรณีตามที่รัฐมนตรีกำหนด

          อ่านต่อ >> อำนาจการคุมขังของเรียนจำ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมประจำสัปดาห์

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

สาระสำคัญ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (ฉบับเตรียมสอบ)

กฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ. 2566

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ พนักงานราชการ

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)